1. น้ำมันเชื้อเพลิง
ควรใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงให้ถูกประเภทและเหมาะสมกับเครื่องยนต์
เนื่องจากมีลูกค้าเป็นจำนวนมากได้โทรเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับเรื่องของน้ำมันที่ใช้ในเครื่องยนต์เบนซิน จำพวกเครื่องยนต์ที่ใช้ในเครื่องตัดหญ้า ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตัดหญ้าสะพายหลัง 2 จังหวะ หรือ 4 จังหวะ และเครื่องยนต์ที่ติดตั้งใน รถตัดหญ้า ไม่ว่าจะเป็น รถตัดหญ้าชนิด ล้อจักรยาน และ รถตัดหญ้าประเภท 4 ล้อสนาม และไม่เลือกว่าจะเป็นเครื่องยนต์ที่ผลิตจากประเทศ ไทย ญี่ปุ่น จีน
ท่านลูกค้าทั้งหลายครับ กรุณาใช้น้ำมัน เบนซิน 95 หรือ เบนซินแก๊สโซฮอล 95 เท่านั้นนะครับ
เบนซินแก๊สโซฮอล 91 ไม่สามารถใช้งานได้นะครับ
** หากใช้งานน้ำมันผิดประเภท จะส่งผลให้เครื่องยนต์เสียหายได้ครับ**
2. น้ำมันเครื่อง
ควรใช้งานน้ำมันเครื่องให้ถูกประเภทและเหมาะสมกับเครื่องยนต์
น้ำมันเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ ( เหมือนน้ำมันเครื่องรถมอเตอร์ไซด์ 4 จังหวะ ตัวเดียวกัน หรือรถยนต์เบนซิน ก็สามารถใช้ได้ แต่ที่ไม่นิยมใช้ของรถยนต์เนื่องจากราคาสูงกว่าน้ำมันของมอเตอร์ไซด์มาก )
ตัวอย่างน้ำมันเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ
น้ำมันออโตลูป 2 จังหวะ เป็นน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ผสมกับน้ำมันเชื้่อเพลิง เพื่อช่วยหล่อลื่นเลี้ยงลูกสูบเพื่อลดการสึกหรอ
ควรผสมน้ำมัน ออโตลูป เข้ากับน้ำมันเชื้อเพลิงใน ภาชนะตวงที่ทางบริษัทให้ไปครับ หลังจากนั้นให้เขย่าให้เข้ากันก่อนเทลงถังน้ำมันครับ
และไม่ควรเทน้ำมันออโตลูปลงในถังน้ำมันโดยตรง และเทน้ำมันเบนซินเพื่อไปผสมในถังน้ำมันครับ
เนื่องจาก น้ำมันออโตลูปมีมวลที่หนักกว่าน้ำมันเบนซินจึงทำให้เกิดการนอนก้น และไหลลงไปในคาบูเรเตอร์ก่อนน้ำมันเบนซิน
ส่งผลให้ส่วนผสมน้ำมันในคาบูเรเตอร์ผิดพลาด ทำให้สตาร์ทเครื่องยาก หรือ บางครั้งอาจจะสตาร์ทเครื่องไม่ติดเลยก็เป็นได้ครับ และหากใช้งานกับเครื่องตัดหญ้า ควรจะใช้น้ำมันที่ผสมแล้วให้หมดถัง หากไม่หมดควรหาภาชนะมาเทออกให้หมดจากถังน้ำมัน หรือ ถ้ามีวาล์วปิดเปิดน้ำมัน ให้ทำการเบิร์นน้ำมันดังนี้ ปล่อยเครื่องยนต์ให้เดินในรอบเดินเบา และ ปิดวาล์วน้ำมัน และรอให้เครื่องยนต์ดับไปเอง หลังจากกนั้นจึงค่อยปิดสวิทต์ off เป็นอันเสร็จขั้นตอน เหตุผลที่ต้องทำอย่างนี้เนื่องมาจาก หากเราปล่อยน้ำมันที่มีส่วนผสมของ ออโตลูปกับเบนซิน ให้นอนก้นในคาบูเรเตอร์สิ่งที่่จะนอนก้นก่อนได้แก่ ออโตลูป ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าน้ำมันเบนซิน และจะไหลเข้าไปอุดตันภายใน นมหนู ของเครื่องยนต์ได้ ทำให้เกิดอาการสตาร์ทเครื่องยากหรือไม่ติด
ตัวอย่างน้ำมัน 2 จังหวะ ( ออโตลูป )