สามารถรับชมรีวิวการใช้งาน และการดูแลรักษาปั้มพ่นยาชนิด 3 สูบได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
1.วิธีการประกอบ + ติดตั้ง การใช้งานเครื่องพ่นยา 3 สูบ
2.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว
ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GX200 6.5 แรงม้า
3.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว
ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP200 6.5 แรงม้า ( รุ่นใหม่ )
4.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 6 หุล
ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP160 5.5 แรงม้า ( รุ่นใหม่ )
5.รีวิววิธีการล้างทำความสะอาดวาล์วปั้มพ่นยา 3 สูบ
6.รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ
7.รีวิวแก้ปัญหาน้ำยารั่วตรงลูกสูบของปั้มพ่นยา 3 สูบ
8.รีวิวการติดตั้งฟรียอยทองเหลือง เข้ากับโลม้วนเก็บสายยางพ่นยา
9.รีวิวการตรวจสอบอาการ ชุดก้านสูบขาด ของปั้มพ่นยา 3 สูบ
รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว
ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GX200 6.5 แรงม้า
สรุป หลักการทำงานดังนี้ครับ
- เริ่มตั้งแต่สตาร์ทเครื่องยนต์
กรณีเครื่องเย็น หากเครื่องยนต์เย็นให้ทำการเปิดโช๊ค เพื่อเพิ่มความหนาของสัดส่วนน้ำมันกับอากาศ จะทำให้เราสตาร์ทเครื่องยนต์ง่ายขึ้น หากเครื่องยนต์ติดแล้วให้ทำการปิดโช๊ค หากไม่ปิดจะทำให้เครื่องยนต์วอดดับได้
- ไล่อากาศ
วิธีการไล่อากาศออกจากปั้มพ่นยา โดยปิดวาล์ทุกวาล์ว เปิดไว้เฉพาะวาล์วที่ใช้สำหรับไล่อากาศ เท่านั้น หลังจากที่มีน้ำพ่นออกจนเต็มท่อจึงปรับวาล์วไปตำแหน่งใช้งาน
- เร่งรอบความเร็วเครื่องยนต์
ความแรงของปั้มพ่นยา 3 สูงขึ้นอยู่กับรอบความเร็วของเครื่องยนต์ หากเราปรับแรงดันมาก แล้วไม่เร่งเครื่องยนต์อาจจะมีอาการเครื่องยนต์ดับได้ ดังนั้นจึงควรใช้รอบเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับแรงดันของปั้มครับ
- ปรับแรงดัน
หลังจากไล่อากาศและปรับรอบความเร็วของเครื่องยนต์ จึงทำการปรับความแรงของปั้ม ( หรือปรับแรงดันนั่นเอง )
- ดูแรงดันน้ำที่ได้
ดูแรงดันน้ำที่ได้ สังเกตุดูที่เกจวัดต้องอยู่ในช่วงสีเขียวเท่านั้น หากเกินไปอยู่ในช่วงสีแดง อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวปั้มได้