สามารถรับชมรีวิวการใช้งาน และการดูแลรักษาปั้มพ่นยาชนิด 3 สูบได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
1.วิธีการประกอบ + ติดตั้ง การใช้งานเครื่องพ่นยา 3 สูบ
2.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว
ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GX200 6.5 แรงม้า
3.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว
ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP200 6.5 แรงม้า ( รุ่นใหม่ )
4.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 6 หุล
ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP160 5.5 แรงม้า ( รุ่นใหม่ )
5.รีวิววิธีการล้างทำความสะอาดวาล์วปั้มพ่นยา 3 สูบ
6.รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ
7.รีวิวแก้ปัญหาน้ำยารั่วตรงลูกสูบของปั้มพ่นยา 3 สูบ
8.รีวิวการติดตั้งฟรียอยทองเหลือง เข้ากับโลม้วนเก็บสายยางพ่นยา
9.รีวิวการตรวจสอบอาการ ชุดก้านสูบขาด ของปั้มพ่นยา 3 สูบ
รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ
ทำไม...เราต้องไล่อากาศก่อนการใช้งาน ปั้ม 3 สูบทุกครั้ง อันนี้ ลูกค้าบางท่านอาจจะงง ว่าทำไปทำไม หรือ หลายท่านที่เคยใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบอาจจะเคยประสบปัญหาว่า ทำไมปั้มพ่นยา ของเราไม่มีแรงดันตอนเปิดเครื่อง หรือ แรงดันตกลงเรื่อย ๆ เป็นต้น แต่หากเป็นลูกค้าของทางโรงงานทางฝ่ายช่างของเราจะแนะนำวิธีการให้อยู่แล้วครับ เลยวิธีนี้เป็นประโยชน์เลยอยากจะแนะนำต่อให้กับท่านเกษตรกรทั่วไป ที่ไม่ใช่ลูกค้าเราก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ได้ครับ จะได้ไม่ต้องไปเสียเงินซ่อมให้เปลืองครับ
เรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ หลักการทำงานของปั้มพ่นยา 3 สูบ คือ
ปั้มพ่นยา ชนิด 3 สูบนี้ จะดูดน้ำขึ้นมา ผ่านทางสายน้ำดูด ( ทางน้ำเข้า ) ซึ่งมีขนาด ต่างกัน เช่น ขนาด 6 หุล หรือ ขนาด 1 นิ้ว หรือใหญ่กว่านั้น ซึ่งหลังจากที่ดูดน้ำขึ้นมาแล้ว จะถูกสร้างแรงดัน ( Pressure ) ด้วยลูกสูบทั้ง 3 โดย ผ่านตัววาล์ว ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวดักน้ำกัน ป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับไปลงในถัง โดยวาล์วจะมีทั้งหมด 6 ตัว หลังจากสร้างแรงดัน แล้วจะส่งผ่านไปยังชุดควบคุมแรงดัน ที่อยู่ทางด้านบน เพื่อนำออกไปใช้งาน ( จริงๆ อาจจะมีขั้นตอนที่ เยอะกว่านี้นะครับ แต่ผมพยายามที่จะเล่าให้มองเห็นภาพ และเข้าใจง่าย ๆ ครับ หากภาษาที่ใช้ บ้าน ๆ เกินไปต้องขออภัยด้วยนะครับ )
ส่วนประกอบหลัก ๆ ของปั้มพ่นยา 3 สูบมีดั้งนี้ครับ ( ตามรูปภาพด้านบน )
1. ท่อน้ำดูด
2. สายน้ำเดรนทิ้ง
3. วาล์วไล่อากาศ ( อยู่ติดกับเกจวัดแรงดัน )
4. วาล์วเปิดแรงดันไปใช้งาน ตัวที่ 1 ( เข้าด้ามพ่นยา ) ซึ่งปั้มพ่นยาส่วนมากจะใช้งานได้ 2 หัวพ่น
5. วาล์วเปิดแรงดันไปใช้งาน ตัวที่ 2 ( เข้าด้ามพ่นยา )
6. มู่เลย์อลูมิเนียม ขนาด 8 นิ้ว 2 ร่อง A
ส่วนอากาศนั้น จะเกิดจากการที่เราใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ ซึ่งหลังจากที่เราเลิกใช้งานแล้ว ซึ่งธรรมชาติของน้ำจะไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่แล้ว คือ น้ำจะไหลย้อนกลับมาทางด้านสายดูด ผ่านทางชุดฝักบัวกรองเศษ ซึ่งภายในฝักบัวกรองเศษจะไม่มีวาล์วใด ๆ ดักน้ำไว้ ทำให้น้ำไหลออกจากท่อ บางครั้งหมด หรือเกือบหมด ซึ่งหลังจากที่น้ำไหลออกจากสาย จะเกิดพื้นที่ว่าง ที่ถูกแทนที่ด้วยอากาศในสายยาง ส่วนในตัวปั้มพ่นยาจะมีน้ำค้างอยู่ในเสื้อเต็มอยู่แล้วเนื่องจากมีวาล์วกันน้ำไหลย้อนกลับดักไว้ เจ้าอากาศที่ค้างอยู่ในท่อนี้ จะส่งผลตอนใช้งานครั้งต่อไป คือ ขณะที่เราเริ่มการทำงานของปั้มพ่นยาครั้งใหม่ หากไม่ได้ไล่อากาศ พวก อากาศที่ค้างอยู่ในท่อ จะถูกดูดโดยลูกสูบเข้าไปยังตัวปั้ม ( ซึ่งปกติสิ่งที่มันควรจะดูดควรจะต้องเป็นน้ำ ) ทำให้น้ำในตัวปั้มซึ่งจากเดิมที่เคยเต็มกลับ เหลือปริมาณน้อยลง เพราะมีอากาศเข้ามาผสมด้วย ลูกสูบก็จะดึงอากาศส่งผ่านชุดเกจแรงดัน เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด ส่งผลทำให้แรงดันตกลงได้ ดังนั้นเราจึงควรทำการไล่อากาศก่อนการใช้งานทุกครั้ง ซึ่งทางโรงงานผู้ผลิตเค้าเห็นถึงปัญหา เค้าจึงออกแบบ ชุดวาล์วไล่อากาศ โดยวางตำแหน่งอยู่ตรง ชุดสร้างแรงดันด้านบน ( เป็นวาล์ว อยู่ตรงบริเวณ เกจวัดแรงดัน ) ให้เราได้ไล่อากาศออกจากตัวปั้มก่อน
วิธีการไล่อากาศก่อนการใช้งาน ( ง่ายนิดเดียวครับ )
ก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบทุกครั้ง ควรปรับตัวปรับแรงดัน ให้อยู่ในตำแหน่งต่ำที่สุดเสมอ เนื่องจากเราไม่อาจทราบได้ว่าแรงดันที่ปรับอยู่เก่านั้นเกินจากแรงดันที่มาตราฐานที่ตัวชุดแรงดันรับได้หรือไม่ หากเราใช้งานโดยที่ไม่ทราบ อาจจะทำให้ชุดแรงดันเสียหายได้ และวิธีนี้ยังช่วย ลดภาระการทำงานของต้นกำลังในช่วงของการสตาร์ทเครื่อง เช่น เครื่องยนต์ หรือ มอเตอร์ได้ หากเป็นเครื่องยนต์ เราปรับเร่งแรงดันไว้เยอะมาก จะส่งผลทำให้สตาร์ทเครื่องยนต์ติดยาก ส่วนถ้าเป็นมอเตอร์ ถ้าปรับแร่งแรงดันไว้เยอะมาก จะทำให้มอเตอร์ โอเวอร์โหลด ( OVER LOAD ) เพราะต้องใช้กำลังมากขึ้นตอนสตาร์ท ส่งผลให้มอเตอร์อาจจะไหม้ได้ครับ
หลังจากที่เราปรับแรงดันมาที่ต่ำสุดแล้ว ให้ทำการปิดวาล์วทั้งหมดที่ส่งน้ำไปยัง ด้ามพ่นยา และเปิดวาล์ว แรงดันที่ตำแหน่งเกจวัด และทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือ เปิดการทำงานขอมอเตอร์ ( อย่าลืมเอาชุดสายดูดใส่ลงไปในถังที่มีน้ำนะครับ ) ปั้มพ่นยาจะเริ่มทำงาน สังเกตได้จากมีน้ำพุ่งออกมาทางวาล์วที่ตำแหน่งเกจวัดแรงดันครับ ให้เปิดเครื่องไว้และรอให้เครื่องไล่อากาศออกจากตั้วปั้มสัก 1-2 นาที ครับ หลังจากนั้น จึงปิดวาล์วแรงดัน และเปิดการวาล์วทางด้านที่ส่งน้ำไปใช้งาน ( ออกด้ามพ่นยา ) จากนั้นจึงค่อยปรับแรงดันที่ต้องการใช้งาน เป็นอันเสร็จขึ้นตอนการไล่อากาศ และสามารถใช้งานได้ตามปกติครับ