ReadyPlanet.com
dot dot
วิธีการประกอบ + ติดตั้ง การใช้งานเครื่องพ่นยา 3 สูบ

สามารถรับชมรีวิวการใช้งาน และการดูแลรักษาปั้มพ่นยาชนิด 3 สูบได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

1.วิธีการประกอบ + ติดตั้ง การใช้งานเครื่องพ่นยา 3 สูบ
2.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว 
      ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GX200 6.5 แรงม้า

3.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว 
      ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP200 6.5 แรงม้า ( รุ่นใหม่ )

4.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 6 หุล 
      ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP160 5.5 แรงม้า ( รุ่นใหม่ )

5.รีวิววิธีการล้างทำความสะอาดวาล์วปั้มพ่นยา 3 สูบ
6.รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ
7.รีวิวแก้ปัญหาน้ำยารั่วตรงลูกสูบของปั้มพ่นยา 3 สูบ
8.รีวิวการติดตั้งฟรียอยทองเหลือง เข้ากับโลม้วนเก็บสายยางพ่นยา
9.รีวิวการตรวจสอบอาการ ชุดก้านสูบขาด ของปั้มพ่นยา 3 สูบ

 

หลักการและวิธีการเลือกใช้งานปั้มพ่นยา ชนิด 3 สูบ
การติดตั้งปั้มพ่นยา 3 สูบ และการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ  
 

 

           ปั้มพ่นยา 3 สูบ เป็นอุปกรณ์ เครื่องมือ อเนกประสงค์อีกชนิดหนึ่ง สาเหตุที่เค้าเรียกว่า "ปั้มพ่นยา 3 สูบ" สืบเนื่องมาจาก เครื่องพ่นยาชนิดนี้ ใช้ระบบกลไกของการขับเคลื่อนด้วยลูกสูบ 3 อัน เพื่อสร้างและส่งกำลังอัด จากภายในกระบอกสูบ ส่งผ่านต่อไปยังชุดวาล์วควบคุมแรงดัน เปลี่ยนพลังงานไปใช้ในการส่งแรงดันน้ำ โดยที่บอกว่าอเนกประสงค์ เนื่องจาก สามารถใช้ได้ทั้งใน งานพ่นยาฆ่าแมลง พ่นฮอร์โมน การให้น้ำต้นไม้ ( ให้น้ำทางปากใบ ) หรือ บางครั้ง นำไปใช้เป็นเครื่องฉีดล้างทำความสะอาดพื้น หรือ ฉีดล้างทำความสะอาดรถได้อีกด้วย  ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของเครื่องพ่นยา 3 สูบ ที่นิยมใช้ในบ้านเรามักจะเป็นรุ่นใหม่ ที่เรียกว่า ปั้มพ่นยา 3 สูบ ชนิด ออโต้ ได้ตาม ทางน้ำเข้า ได้ดังนี้

1. ปั้มพ่นยา 3 สูบ ชนิด ออโต้ ขนาด 6 หุล 

ปั้มพ่นยา 3 สูบ          

       ปั้มพ่นยา 3 สูบ ชนิด ออโต้ ขนาด 6 หุล  โดยที่มาของ 6 หุล คือ ขนาดของทางน้ำเข้า ปั้มพ่นยาขนาด 6 หุล นี้โดยมากใช้พ่นยาฆ่าแมลง หรือ ฮอร์โมน โดยกำลังที่ได้จะมีหน่วยวัดความแรงเป็น บาร์ ซึ่งแรงดันของปั้มพ่นยา 3 สูบ ซึ่งสามารถทำได้สูงสุด คือ 30 Bar และสามารถวัดความสูงของแรงดันสายน้ำที่พ่นได้ อยู่ที่ความสูงประมาณ 5 - 7 เมตร ในแนวตั้ง ( ปรับหัวฉีดพ่น แบบเรียวเล็ก ) เช่น พ่นฮอร์โมน ยอดต้นมะม่วง หรือ พ่นงานพื้นราบ ที่เน้นการกระจายตัวเป็นฝอยเป็นหลัก เช่น พืชสวน และพืชไร่ เป็นต้น เครื่องพ่นยารุ่น 6 หุล ชนิด AUOT นี้สามารถใช้งานหัวพ่นยาได้ 2 หัวพ่น โดยสังเกตุจากชุดวาล์วทางน ออกมี 2 วาล์ว 

อธิบายคุณลักษณะของปั้มพ่นยา ขนาด 6 หุล
Sprayer Specification 

ปั้มพ่นยา 3 สูบ

 

OUTPUT คือ ปริมาณน้ำที่ที่สามารถพ่นได้   14-22 L/min.
                ซึ่งหมายความว่าปั้มตัวนี้สามารถพ่นน้ำยาได้ 14-22 ลิตรต่อนาที 
RPM        คือ รอบที่ใช้ในการขับเคลื่อนปั้มพ่นยา 800-1200 r/min
                ซึ่งหมายความว่าปั้มตัวนี้ต้องใช้ต้นกำลังที่มีความเร็วรอบ ประมาณ 800-1200 รอบต่อนาที 
               
**หมายเหตุ** รอบที่ช้าเกินกว่าที่กำหนด ส่งผลทำให้ปั้มไม่มีแรงดันเพียงพอ
                                       หากรอบเร็วกว่าที่กำหนด  ส่งผลทำให้ปั้มพ่นยาชำรุด เสียหายได้

Pressure คือ แรงดันที่ปั้มพ่นยาสามารถทำได้ 2.0-3.5 MPa ( อ่านว่า เมกะปาสกาล  )
                ซึ่งหมายความว่าปั้มตัวมีแรงดัน ประมาณ  
                    ปาสกาล หรือ พาสคาล (pascal สัญลักษณ์ Pa) เป็นหน่วยวัดในระบบเอสไอ ใช้ในการวัดความดันหรือความกด และความเค้น โดย เป็นการวัดแรงที่ตั้งฉากกับระนาบของพื้นที่นั้น
                หน่วย Mpa เป็นหน่วย SI unit คือหน่วยมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ ดังนั้น 1 Mpa เรียกว่า 1 เมกกะปาสคาส 1 Mpa เท่ากับ 10 bar ดังนั้น จากตาราง 2.0-3.5 
Power     คือ กำลังแรงม้าที่ปั้มพ่นยาต้องการ 2-3 KW ( หรือแปลงวัตต์เป็นแรงม้า จะได้ 2x750 = 1.5 แรงม้า )

 



ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 6 หุลนี้สามารถติดตั้งกับเครื่องส่งกำลัง แบ่งประเภทได้ดังนี้

     1. ติดตั้งกับ เครื่องยนต์เบนซินอเนกประสงค์ ( เพลานอน ) ขนาด 5.5 แรงม้า เช่น เครื่องยนต์ HONDA GX160 5.5 HP ซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดบ้านเรา ในเรื่องคุณภาพของเครื่องยนต์ , หรือจะเป็น เครื่องยนต์ 5.5 แรงม้า ที่นำเข้าจากประเทศจีน

 ปั้มพ่นยา 3 สูบ ปั้มพ่นยา 3 สูบ

2. ติดตั้งกับ มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 1.5 HP ( แรงม้า ) ซึ่งสามารถติดตั้งใช้งาน ได้ทั้งแบบ ไฟ 220 V และ 380 V 
    ในบ้านเรานั้นมีที่เป็นนิยมมากที่สุดเห็นจะเป็น Brand มิตซูบิชิ MITSUBISHI หรือจะเป็นมอเตอร์ที่มาจากประเทศไทยอย่าง MAKRO หรือจะเป็นมอเตอร์จากประเทศจีน KOJIMA ก็ได้ครับ
**ข้อควรระวังในการใช้งาน **
       เพื่อความปลอดภัยควรติดตั้งชุดเบเกอร์ไฟฟ้าไว้ที่ตัวมอเตอร์หรือตัวแท่นที่ติดตั้งปั้มพ่นยาเลย โดยขนาดของตัวเบเกอร์จะเป็นขนาด 15 A เป็นอย่างน้อย และต่อสายเพื่อไปเสียบปลั๊กไฟอีกที สาเหตุเพราะจะได้ตัดไฟได้อย่างทันท่วงที

2. ติดตั้งกับ มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 1.5 HP ( แรงม้า ) ซึ่งสามารถติดตั้งใช้งาน ได้ทั้งแบบ ไฟ 220 V และ 380 V เบเกอร์ไฟฟ้า สำหรับปั้มพ่นยา3สูบ 

ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งมอเตอร์
 

รีวิวการทดสอบปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งมอเตอร์ 1.5 แรงม้า มิตซูบิชิ

   


2. ปั้มพ่นยา 3 สูบ ชนิด ออโต้ ขนาด 1 นิ้ว 

    ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งมอเตอร์

ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งเครื่องยนต์

สามารถชมคลิปวีดีโอ รีวิวสาธิตการใช้งาน เครื่องพ่นยา 3 สูบขนาด 1 นิ้ว ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GX200 6.5 HP 

 

       โดยที่มาของ 1 นิ้ว รูปร่างหน้าตา จะเหมือนกันกับ ขนาด 6 หุล ที่ต่างกันก็คือ ขนาดของทางน้ำเข้า ปั้มพ่นยาขนาด 1 นิ้ว นี้โดยมากใช้พ่นยาฆ่าแมลงหรือ ฮอร์โมน โดยระยะความสูงในการพ่น รวมถึงระยะทางในการพ่นเป็นหลัก โดย ปั้มพ่นยา 1 นิ้วนี้ ความสูงที่สามารถพ่นได้ อยู่ที่ ประมาณ 8 - 10 เมตร ในแนวตั้ง เช่น พ่นฮอร์โมน ต้นมะม่วง หรือพ่นงานพื้นราบเป็นหลัก เช่น พืชไร่มันสำปะหลัง สวนทุเรียน และ มะนาว เป็นต้น เครื่องพ่นยารุ่นนี้สามารถ พ่นยาได้ 2 หัวพ่น โดยสังเกตุ จากชุดวาล์ว ออกมี 2 วาล์ว  

 


ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว นี้สามารถติดตั้งกับเครื่องส่งกำลัง แบ่งประเภทได้ดังนี้ 
     1. ติดตั้งกับ เครื่องยนต์เบนซินอเนกประสงค์ ( เพลานอน ) ขนาด 6.5 แรงม้า หรือ ขนาด 6.5 แรงม้าขึ้นไป เช่น เครื่องยนต์ HONDA GX200 6.5 HP ซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดบ้านเรา ในเรื่องคุณภาพของเครื่องยนต์ , หรือจะเป็น เครื่องยนต์ 6.5 แรงม้า ที่นำเข้าจากประเทศจีน มีหลากหลายยี่ห้อให้เลือกครับ ของทางโรงงานเราจะเป็น Brand KOJIMA

 ปั้มพ่นยา 3 สูบ ปั้มพ่นยา 3 สูบ

2. ติดตั้งกับ มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 3.0 HP ( แรงม้า ) ซึ่งสามารถติดตั้งใช้งาน ได้ทั้งแบบ ไฟ 220 V และ 380 V 
ในบ้านเรานั้นมีที่เป็นนิยมมากที่สุดเห็นจะเป็น Brand มิตซูบิชิ MITSUBISHI หรือจะเป็นมอเตอร์ที่มาจากประเทศไทยอย่าง MAKRO หรือจะเป็นมอเตอร์จากประเทศจีน KOJIMA ก็ได้ครับ
**ข้อควรระวังในการใช้งาน **
       เพื่อความปลอดภัยควรติดตั้งชุดเบเกอร์ไฟฟ้าไว้ที่ตัวมอเตอร์หรือตัวแท่นที่ติดตั้งปั้มพ่นยาเลย โดยขนาดของตัวเบเกอร์จะเป็นขนาด 20 A เป็นอย่างน้อย และต่อสายเพื่อไปเสียบปลั๊กไฟอีกที สาเหตุเพราะจะได้ตัดไฟได้อย่างทันท่วงที

ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งมอเตอร์ 3 แรงม้า ไฟ 380 โวลต์2. ติดตั้งกับ มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 1.5 HP ( แรงม้า ) ซึ่งสามารถติดตั้งใช้งาน ได้ทั้งแบบ ไฟ 220 V และ 380 V

รูปซ้ายมือคือ ปั้มพ่นยา 3 สูบขนาด 1 นิ้ว ติดตั้งมอเตอร์ 3 แรงม้า ( 380 V )
ซึ่งตัวเบเกอร์จะเป็นขนาด 20 A ติดตั้งอยู่ภายในกล่องกันน้ำ

ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งมอเตอร์ 

 



อุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเครื่องพ่นยา ประเภท 3 สูบ
      หลังจากที่เราได้รู้จักกับตัวปั้มพ่นยาแล้วว่าเราจะเลือกเท่าไร ต่อไปเราจะมาทำความรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเครื่องพ่นยา ประเภท 3 สูบมี ดังนี้ 
1. แท่น ( หรือ ฐานสำหรับยึดและติดตั้งวางเครื่องพ่นยา และเครื่องยนต์ )
โดยแท่นวางเครื่องพ่นยา มีหลายประเภทให้สามารถเลือกใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ดังนี้
     1.1 แท่นพ่นยาเหล็กฉาก ขนาด 1.5 นิ้ว ( นิ้วครึ่ง )
     คือ หน้ากว้างของเหล็กฉาก 1.5 นิ้ว เหมาะสำหรับงานพ่นยาที่ไม่ค่อยเคลื่อนย้ายสถานที่ใช้งานบ่อยนัก โดยขณะเคลื่อนย้ายต้องทำการเคลื่อนย้าย ด้วยคน 2 คน 

 

     1.2 แท่นพ่นยาเหล็กฉาก ขนาด 2 นิ้ว 
     คือ หน้ากว้างของเหล็กฉาก 2 นิ้ว 
เหมาะสำหรับงานพ่นยาที่ไม่ค่อยเคลื่อนย้ายสถานที่ใช้งานบ่อยนัก โดยขณะเคลื่อนย้ายต้องทำการเคลื่อนย้าย ด้วยคน 2 คน 

    

 

     1.3 แท่นพ่นยาแป๊ปกลมดำ รุ่นหนา มีตัวหน้าแปลนหมุนล็อคตัวแท่นให้ 
     เหมาะสำหรับงานพ่นยาที่ไม่ค่อยเคลื่อนย้ายสถานที่ใช้งานบ่อยนัก โดยขณะเคลื่อนย้ายต้องทำการเคลื่อนย้าย ด้วยคน 2 คน 

   

     1.4 แท่นพ่นยา 2 ล้อ สามารถติดตั้ง เครื่องพ่นยา + มอเตอร์ หรือ เครื่องพ่นยา + เครื่องยนต์ได้  เหมาะสำหรับงานพ่นยาที่ต้องการเปลี่ยนสถานที่ หรือ พื้นที่ในการตั้งเครื่องพ่นยาบ่อย แต่ไม่ได้เข็นลากเป็นระยะทางไกล ๆ โดยสามารถทำการเคลื่อยย้ายด้วยคนเพียงคนเดียว 

  

     1.5 แท่นพ่นยา 4 ล้อ รุ่น AUTO คือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ลดและย่นระยะเวลา ในขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้
 เหมาะสำหรับงานพ่นยาที่ต้องการเคลื่อนย้ายสถานที่ใช้งานบ่อย ๆ หรือเคลื่อนย้ายเป็นระยะทางไกล โดยสามารถเคลื่อนย้ายได้เพียงคนคนเดียว พร้อมทั้งยังสามารถเก็บสายพ่นยาด้านบนได้ด้วย จึงประหยัดแรงงานในการต้องยกเคลื่อนย้านโลเก็บสายยางอีกด้วย

โลม้วสาย 4 ล้อ  แท่นพ่นยา 4 ล้อ AUTO รุ่นใหม่

ปั้มพ่นยา3สูบ แท่นนยา 4 ล้อ AUTO รุ่นเก่า

 


 

 2. โลม้วนสายพ่นยา ชนิด ตั้งพื้น  

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บสายยางพ่นยา ซึ่งโดยธรรมดาสายยางพ่นยาที่มาตราฐานจะแบ่งขายเป็นดังนี้ครับ
      1. ม้วนความยาว   20 เมตร
      2. ม้วนความยาว 100 เมตร

      หากเราไม่ใช้โลม้วนเก็บสายและปล่อยให้สายทิ้งอยู่ตามพื้น สายยางพ่นยาจะโดนแสงแดดซึ่งแสงแดดจะทำให้ตัวเนื้อสายเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และอาจส่งผลทำให้รั่วและปริแตกได้ ซึ่งสายยางม้วนนึงราคาก็ไม่ได้ถูกครับ เพราะฉะนั้นเราควรดูแลเก็บรักษาให้ดีดีกว่าครับจะได้อยู่ให้เราใช้ได้นานนานครับ

    

กรณีที่ท่าน เลือกใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีโลม้วนเก็บสายพ่นยา จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม คือ
ชุด ฟรียอย ( ข้อต่อสวมเร็ว ) + สายย้ำหัวทองเหลือง 2 ข้าง ความยาว 1 เมตร

 

ปั้มพ่นยา3สูบ  ฟรียอยสายพ่นยา ปั้มพ่นยา 3 สูบ

วิธีการติดตั้ง ชุด ฟรียอย และ สายย้ำ สามารถติดตั้งได้ตามตำแหน่ง ดังนี้ 

 

รีวิวการทดสอบการใช้งานฟรียอย ขณะเครื่องพ่นยาทำงาน
ทดสอบการรั่วซึม .... สอบผ่าน 100% เต็มครับ  

 


 3.  สายพ่นยา มีให้เลือก หลายชนิด และ หลายยี่ห้อ โดยการเลือกซื้อ ส่วนมากลูกค้าจะนิยมเลือกซื้อชนิด สายถัก 5 ชั้นหนา
          เหตุผลเนื่องมากจาก หากนำไปใช้งานพ่นยาที่มี สารกำมะถัน ซึ่งส่วนมากจะอยู่ใน ยาประเภท ยาฆ่าหญ้า และ ยาฆ่าแมลง จะส่งผลให้สายยางบางลงเพราะฤทธิ์การกัดกร่อนของกำมะถัน และที่สำคัญ งานพ่นยา มีแรงดันที่มีกำลังสูงของเครื่องเข้ามาเกี่ยวข้อง สายพ่นยาเป็นตัวรับแรงดันโดยตรง หากสายโดนกัดกร่อนจนบางจะทำให้รั่วง่าย หรือหากเราลากสายออกไปใช้งาน มีการลาก ขูดหรือ ถู ไม่ว่าจะเป็นกิ่งไม้ หรือ ก้อนหิน อาจจะทำให้สายรั่วซึมได้ และยิ่งไปกว่านั้น สายพ่นยา ไม่ได้มีราคาถูกหากเราป้องกันในส่วนนี้ได้ จะทำให้ลดต้นทุนในส่วนของ สายพ่นยาได้  

สายพ่นยา5ชั้นสายพ่นยา5ชั้น 


4. มู่เลย์สำหรับ เครื่องยนต์ หรือ มอเตอร์ไฟฟ้า
    การใช้งานมูเลย์สำหรับเครื่องพ่นยา 3 สูบ ชนิด AUTO นี้เราจะใช้มู่เลย์เหล็กหล่อ ชนิด 2 ร่อง A เนื่องจากตัวมู่เลย์ที่ตัวปั้มพ่นยา ก็เป็น 2 ร่อง A เหมือนกัน แบ่งได้เป็นดังนี้

1. ปั้มพ่นยาขนาด 6 หุล และ 1 นิ้ว ใช้สายพาน เบอร์ 41 ร่อง A ( V BELT A TYPE ) ติดตั้งกับเครื่องยนต์ ขนาด 5.5 HP ซิ่งเพลาของเครื่องยนต์จะมีขนาด 19 มิลลิเมตร ดังนั้นขนาดของมู่เลย์ที่เราสามารถใช้งานได้กับเครื่องยนต์ ประเภท เพลานอน 5.5 แรงม้า คือ มู่เลย์ ขนาด 2 นิ้ว ครึ่ง หรือ  2(1/2) นิ้ว  2 ร่อง A

มุ่เลย์ปั้มพ่นยา3สูบ มู่เลย์ปั้มพ่นยา3สูบ ปั้มพ่นยา3สูบ

รูปซ้ายเป็นมู่เลย์ขนาด 2 นิ้วครึ่ง 2 ร่อง A , รูปขวาเป็นมู่เลย์อลูมิเนียมของปั้มพ่นยา ขนาดมาตราฐาน 8 นิ้ว 

2. ปั้มพ่นยาขนาด 6 หุล ใช้สายพาน เบอร์ 41 ร่อง A ( V BELT A TYPE ) ติดตั้งกับมอเตอร์ขนาด 1.5 แรงม้า ซึ่งมู่เลย์ที่สามารถติดตั้งและสามารถใช้งานได้คือคือ 
มู่เลย์ ขนาด 3 นิ้วครึ่ง หรือ  3(1/2) นิ้ว  2 ร่อง A

มู่เลย์ปั้มพ่นยา 3 สูบ มู่เลย์สำหรับปั้มพ่นยา3สูบ 

มุ่เลย์ปั้มพ่นยา 3 สูบ

  


ปั้มพ่นยา3 สูบ 

ปั้มพ่นยา3สูบติดตั้งเครื่องยนต์ ปั้มพ่นยา3สูบติดตั้งเครื่องยนต์ ปั้มพ่นยา3สูบติดตั้งเครื่องยนต์  

 1.หลังจากแกะกล่องเครื่องพ่นยา มาเราจะได้ อุปกรณ์ดังนี้    

        1.1 ตัวเครื่องพ่นยา 3 สูบ หรือ ปั้มพ่นยา 3 สูบ  ดังรูป

  ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งเครื่องยนต์ ปั้มพ่นยา3สูบ     ปั้มพ่นยา3สูบ                         

     1.2 มู่เลย์อลูมิเนียม                     จำนวน  1 ลูก

ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งเครื่องยนต์ ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งเครื่องยนต์      ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งเครื่องยนต์

      1.3 สายดูดน้ำ ( ทางเข้า )            จำนวน  1 เส้น
       1.4 สายน้ำย้อน ( สายเดรน )        จำนวน  1 เส้น

ปั้มพ่นยา3สูบ

       1.5 ชุดฝักบัวสายน้ำดูด                จำนวน  1 ตัว

ปั้มพ่นยา 3 สูบ ติดตั้งเครื่องยนต์

 

     1.6 สายพาน                                               จำนวน  2 เส้น
      1.7 วาว์ลเปิดปิดน้ำยาทองเหลือง                จำนวน  2 ตัว

  

  1.8 ชุดด้ามพ่นยา ชนิดปรับ ฉีดแบบกลม กับแบบ ฝอย  จำนวน  2 อัน

  1.9 ชุดน็อตและ ซีลอะไหล่                                จำนวน  1 ชุด

ปั้มพ่นยา3สูบ

 

     1. วางเครื่องยนต์เบนซินอเนกประสงค์ และ เครื่องพ่นยาลงบนแท่น พร้อมยึดน็อต ( ยึดแค่ตึงมือ )  โดยเครื่องยนต์ติดตั้งในฝั่งที่สามารถเร่งเกลียวปรับความตึงของสายพานได้

 

ปั้มพ่นยา3สูบ 

     ( เทคนิคคือพยายามว่างให้ร่องของมู่เลย์ตรงกัน โดยใช้ก้านพ่นยาวางลงในร่องของมู่เลย์ทั้งสองตัว ก่อนจะล็อคน็อตยึด เครื่องยนต์ และ เครื่องพ่นยา จะทำให้เราเร่งสายพานแล้วเครื่องจะตรงกันง่ายขึ้น ) 
     จากนั้นให้ทำการเร่งสายพานให้ตึงมือ พร้อมทั้งปรับตั้งเครื่องให้ตำแหน่งของสายพานในมู่เลย์ทั้งฝั่งเครื่องยนต์ และ ฝั่งเครื่องพ่นยา ตรงกันทั้งสองเส้น ( ไม่ควรให้สายพานเบียดด้านใดด้านหนึ่งของมู่เลย์ เนื่องจากจะทำให้สายพานสึกหรอเร็วได้ ) 

**หมายเหตุ** หลังจากติดตั้งเครื่องพ่นยาลงบนแท่นพ่นยาเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงดังนี้

ปั้มพ่นยา3สูบ

1.1 ติดตั้งท่อทางน้ำเข้ า ( ท่อดูด หมายเลข 1 )        เข้ากับตัวเครื่องเพื่อลดอาการรั่วซึม ให้ใช้เทปพันเกลียวน้ำประปา พันก่อน
1.2 ติดตั้งท่อทางน้ำย้อน ( ท่อเดรนน้ำ หมายเลข 2 )  เข้ากับตัวเครื่องเพื่อลดอาการรั่วซึม ให้ใช้เทปพันเกลียวน้ำประปา พันก่อน 
      2. หลังจากปรับระดับของสายพานให้ตรง และ ตึงแล้ว ให้ทำการล็อคน็อตยึดตัวเครื่องพ่นยาให้แน่น 

ปั้มพ่นยา3สูบ

** ความตึงของสายพาน มีผลต่อการ ความยากง่ายในการสตาร์ทเครื่องยนต์  ** ดังนี้
     2.1 หากเรามีการตั้งสายพานตึงแน่นจนเกินไป จะทำให้เกิดแรงโหลดเวลาสตาร์ทเครื่อง เนื่องจากมู่เลย์ของเครื่องยนต์ถูกดึงไว้ด้วยสายพานของเครื่องพ่นยา เวลาเราดึงเชือกสตาร์ทจะส่งผลให้หนักมือขึ้นเวลาสตาร์ทเครื่องยนต์
     2.2 หากเราตั้งสายพานหย่อนเกินไป จะทำให้เครื่องยนต์ส่งกำลังไปเครื่องพ่นยาได้น้อยลง เพราะสายพานมีอาการฟรีตัว และต่อให้เราเร่งรอบเครื่องยนต์มากเกินไป ก็จะไม่ทำให้เราเพิ่มแรงพ่นได้มากขึ้นครับ ( ผมพยายามนึกคำ อธิบายแบบชาวบ้านให้เข้าใจง่ายนะครับ )  
     3. ต่อไปจะเป็นขั้นตอนก่อนเริ่มการใช้งาน ให้เติมน้ำมันเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะลงในเครื่องยนต์ และเติมน้ำมันเครื่องลงในกรองอากาศ เพื่อดักฝุ่นละอองครับ เนื่องจากกรองอากาศของเครื่องยนต์ เบนซินอเนกประสงค์ที่นิยมในบ้านเราส่วนมาก จะใช้ระบบกรองอากาศแบบกึ่งแห้งกึ่งเปียกครับ ดังรูป 

 

ปั้มพ่นยา3สูบ     3 

     ** การเติมน้ำมันลงในกรองอากาศ ควรเติมในสัดส่วนที่มีขีดบอกอยู่ด้านข้างของถ้อยกรองอากาศ และไม่ควรเติมมากกว่าที่ขีดข้างกรองอากาศบอกไว้ เพราะหากเติมมาก น้ำมันอาจจะล้นเข้าในส่วนของระบบกรองอากาศผ่านไปยังคาบูเรเตอร์ได้ ซึ่งถ้าเกิดอาการล้นจะทำให้ส่วนผสม ระหว่าง น้ำมัน กับ อากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่ได้สัดส่วน จะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก หรือหากสตาร์ทติดจะเกิดอาการควันสีขาวออกมาทางท่อไอเสียครับ **

 

     ส่วนวิธีแก้ไขปัญหาอาการควันขาว ให้ทำดังนี้ครับ หากเราทราบแล้วว่าปัญหาคือ เกิดจากเราเติมน้ำมันเกิน อันดับแรกเราก็เอาน้ำมันออกให้ได้ระดับครับ และลองพยายามทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติด ( ที่บอกว่าลองพยายามสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ติดเนื่องจาก การยากง่ายในการสตาร์ทเครื่องยนต์ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันเครื่องที่ไหลลงไปในช่องกรองอากาศ หากปริมาณน้ำมันเครื่องไหลเข้าไปน้อย ก็อาจจะสตาร์ทติดง่าย หากไหลเข้าไปเยอะสตาร์ทไม่ติด ไม่ต้องกลัวครับเรามีทางแก้ สาเหตุเพราะน้ำมันจะเข้าไปเคลือบด้านในและตกตะกอนรวมกับน้ำมันในคาบูเรเตอร์ ทำให้จากน้ำมันเบนซินธรรมดาที่ไม่มีส่วนผสม กลายเป็นน้ำมันเบนซินผสมน้ำมันเครื่อง อะไรจะเกิดขึ้นครับ

    

     อธิบายง่าย ๆ น้ำมันเบนซินเป็นวัตถุไวไฟ มีจุดวาบไฟสูง ( ติดไฟง่าย )  ส่วนน้ำมันเครื่องมีความหนืด และจุดวาบไวต่ำ ภาษาชาวบ้านเรียกว่าติดไฟยากกว่า เมื่อผสมลงไปในน้ำมันเบนซิน และทำผ่านการผสมกับอากาศโดยคาบูเรเตอร์กลายเป็นส่วนผสมที่ผิดพลาด สตาร์ทอย่างไรก็ไม่ติดครับ อธิบายมานี้ผู้อ่านพอจะเห็นภาพมั้ยครับ
     ถ้าเห็นภาพแล้วให้ทำต่อไปดังนี้ครับ ถอดเลยครับ ถอดถ้วยใต้คาบูเรเตอร์ ( ถ้วยสีทองในรูปด้านบนครับ ) ออกก่อน โดยคลายน็อตยึดตัวด้านล่างสุดออก เพื่อจะทำการเทน้ำมันที่ค้างด้านในทิ้ง และล้างด้วยน้ำมันเบนซิน และเป่าลมด้วยเครื่องเป่าลมให้แห้ง ( ห้ามใช้ไฟแช็คเผา ตามวิธีแบบชาวบ้านนะครับ อาจจะทำให้เหล็กถ้วยคาบูเรเตอร์และเกลียวปล่อยน้ำมันเสียหายได้ครับ ) หรือหากไม่มีปั้มลมให้ใช้ผ้าแห้งเช็ดและปล่อยให้แห้งด้วยตัวเอง จากนั้นประกอบกลับและลองสตาร์ทอีกครั้งครับ หากลองสตาร์ทแล้วไม่ติดอาจจะต้องทำการถอดนมหนูของคาบูเตอร์มาล้างครับ เพราะน้ำมันอาจจะตกค้างอยู่ด้านในนมหนูครับ ( หากไม่โชคร้ายจนเกินไป ถ่ายน้ำมันออกจากถ้วยแล้วล้างก็ควรจะต้องสตาร์ทติดแล้วครบ )  
   เพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ กรุณาอ่านคู่มือการใช้งานก่อนการใช้งาน และอ่านเพิ่มเติมในส่วนของระดับการเติมน้ำมันเครื่องยนต์ เพื่อจะได้เติมน้ำมันได้ระดับอย่างถูกต้อง 
      4. เติมน้ำม้นลงในปั้มพ่นยา 3 สูบ โดยตรวจสอบดูที่ตรงช่องใส ๆ ด้านข้างปั้มพ่นยา โดยน้ำมันที่ใช้เติมได้แก่น้ำมันเครื่องยนต์ชนิดใดก็ได้ ( ควรเป็นน้ำมันใหม่ ) เหตุผล คือใช้หล่อเลี้ยงและลดความร้อนของเพลาข้อเหวี่ยว ส่วนระดับการเติมน้ำมันที่ถูกต้อง คือ ควรเติมน้ำมันจนเต็มถึงระดับบนของช่องเติมน้ำมัน ( ภาษาชาวบ้านเรียกช่องเติมน้ำมันว่าตาแมว ) 
 

 ปั้มพ่นยา 3 สูบ   ปั้มพ่นยา 3 สูบ

5. อัดจารบีหล่อลื่นก้านลูกสูบ ทั้ง 3 สูบตามรูป ( หมายเลข 8 )
วิธีการอัดจารบี รุ่นนี้สามารถอัดจารบีโดยไม่ต้องอาศัยเครื่องอัด สามารถทำได้ดังนี้
        - หมุนคลายฝาอัดจารบี ออกจากตัวอัดจารบี ( ซึ่งจะภายในจะเป็นเกลียว )
        - หลังจากหมุนคลายฝาออกแล้ว ให้ป้ายจารบี ลงในฝาครอบให้เต็มฝาและทาจารบีที่ตัวอัดจารบีให้เต็ม
        - ทำการหมุนเกลียวกลับที่เดิมโดยค่อย ๆ หมุนเร่งอัดจนสุด ( ทำขั้นตอนตั้งแต่แรกจนจบ ถือว่าอัดเสร็จ 1 ฝา ) 
**หมายเหตุ**
     ควรอัดจารบีทุกครั้งก่อนการใช้งานเพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องพ่นยา โดยอัดครั้งละ 2 - 3 ฝาขึ้นอยู่กับระยะเวลาการใช้งาน 
เทคนิคการอัดจารบีให้ง่าย คือ ให้สตาร์ทเครื่องยนต์ให้ปั้มพ่นยาทำงานสัก 5 นาที
หลังจากเครื่องเริ่มร้อนให้ทำการดับเครื่องยนต์และอัดจารบี ความร้อนจะทำให้จารบีไหลตัวเข้าได้ดีขึ้น
 

ปั้มพ่นยา 3 สูบ 

6. ก่อนทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ ให้ทำดังนี้

 6.1 ปิดวาล์วน้้ำออก หมายเลข 4 และ 5 ( ในรูปด้านบนคือตำแหน่างวาล์วปิด ) 
 6.2 เปิดวาล์วหมายเลข 3 เพื่อทำการไล่อากาศออกจากปั้มพ่นยา

      ** ( หากไม่ทำการเปิดวาล์วไล่อากาศจะทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทติดแต่ไม่มีแรงดันน้ำออกมา ระยะเวลาในการเปิดไล่อากาศ คือ หลังจากสตาร์ทเครื่อง หากเราเปิดวาล์วไล่อากาศนี้เรียบร้อยแล้วน้ำจะพุ่งออกทางท่อนี้ รอสักพักประมาณ 1 นาที หรือสังเกตุดูน้ำมาเต็มท่อ พร้อมใช้งานได้ ) ** 

โดยตำแหน่งของการ เปิด - ปิด วาล์วมีทั้งหมด 3 ทางดังนี้ 
-  จากภาพด้านบน ก้านวาล์ว ( ตัวที่หุ้มด้วยพลาสติกสีแดง ) ชี้ไปทาง "เกจวัด"  แสดงถึงตำแหน่ง " ปิด " 
-  จากภาพด้านบน ก้านวาล์ว ( ตัวที่หุ้มด้วยพลาสติกสีแดง ) ชี้ไปทาง "ตรงกันข้ามเกจวัด" แสดงถึงตำแหน่ง " ปิด "

 ** หมายเหตุ ** หากก้านวาล์ววัดปิดมาทางด้านนี้ สามารถปิดได้
แต่ขณะใช้งานจริงเกจวัดแรงดัน จะไม่ขึ้น ทำให้เราไม่สามารถรู้แรงดัน ณ. ขณะทำงานได้ จึงไม่ควรปิดมาด้านนี้
      - ก้านวาล์วอยู่ตำแหน่งตรงกลาง โดยก้านวาล์วชี้มาทางเกลียวก็อกน้ำ แสดงถึงตำแหน่ง " เปิด "
6.3 คลายตัวปรับแรงดัน ( หมายเลข 6 ) ออกจนเกือบหมดเกลียว
 
      เหตุผลที่เราต้องทำการคลายตัวปรับแรงดันออก เนื่องจากจะช่วยลดแรงโหลดของเครื่องยนต์และยังช่วยให้เราลดน้ำหนักเชือกดึงสตาร์ทเครื่องยนต์ให้สามารถดึงง่ายขึ้น เบาขึ้นด้วย  หากเราไม่ทำการคลายตัวปรับแรงดันออก จะทำให้สตาร์ทเครื่องยนต์ติดยากและโอกาสที่ชุดลานดึงสตาร์ทเครื่องยนต์เสียหายเกิดได้สูง ** หากชุดพ่นยาติดตั้งกับมอเตอร์ไฟฟ้า ก็ควรคลายตัวปรับแรงดันออกเหมือนกัน เหตุผลเนื่องจาก ขณะที่มอเตอร์ไฟฟ้าสตาร์ท เป็นช่วงที่ต้องใช้พลังงานมาก ( LOAD )  เราจึงควรลดภาระโหลดของมอเตอร์ด้วยการคลายตัวปรับแรงดันออก ** 

ปั้มพ่นยา 3 สูบ

7. นำสายดูดน้ำพร้อมสายน้ำย้อน จุ่มลงในถังน้ำ
8. ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์
9. หลังจากเครื่องยนต์ติดแล้ว และน้ำออกมาทางท่อไล่อากาศหมายเลข 3 แล้ว ให้ทำการปิดวาล์ว ( โดยหมุนวาล์วให้มีทิศทางปิด เข้าหาเกจ ตามรูปข้างบน )
10. เปิดวาล์หมายเลข 4 หรือ 5 เพื่อเข้าสู่ปืนพ่นยา 
11. ทำการปรับแรงดัน โดยหมุนวาล์วหมายเลข 6 ( ทิศทางการหมุนเพื่อเร่งแรงดัน คือ หมุนตามเข็มนาฬิกา ) 

      หลักการดูเพรสเชอร์ คือดูตำแหน่งของลูกยางสีดำ ภาพในเกจ หากหมุนวาล์วปิดถูกต้องแล้ว และ หมุนวาล์วหมายเลข 6 ตามเข็มแล้ว ลูกยางวัดระดับเพรสเชอร์ต้องเลื่อนขึ้น หากลูกยางตรงกับระดับตัวเลขใดหมายความถึงแรงดัน ณ. ขณะนั้น
 ** หมายเหตุ **  ไม่ควรปรับ " เพรสเชอร์ " เกินกว่าสีแดง เพราะอาจทำให้เครื่องพ่นยาเสียหายได้       - เนื่องจาก ปั้มพ่นยาแบบชนิด AUTO นี้ ขณะใช้งาน เราสามารถปิดวาล์ดที่อยู่ที่ด้ามพ่นยาได้โดยตรง  โดยไม่ต้องวิ่งกลับมาปิดวาล์วที่ตัวเครื่อง ซึ่่งในขณะที่เราปิดวาล์วนั้น น้ำจะไหลย้อนกลับลงถัง ผ่านทางสายเดรน ( สายน้ำย้อนกลับ ) โดยอัตโนมัติ และยังมีประโยชน์ในการช่วยทำการกวนน้ำยาในถังไม่ให้นอนก้นได้ด้วย 

การบำรุงรักษา
     1. หลังจากใช้งานเครื่องพ่นยา เพื่อพ่นยาฆ่าแมลง หรือ ฮอร์โมน แล้วเสร็จ ให้ทำการพ่นยาด้วยน้ำเปล่าเพื่อไล่สารเคมีออกจากสาย และ ตัวปั้ม ระยะเวลาในการเดรนน้ำทิ้ง ประมาณ 3-5 นาที
     2.การยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์เบนซินที่ต่อพ่วง เราสามารถทำได้ในขณะทำการพ่นน้ำเปล่า ไล่สารเคมี โดยทำการปิดวาล์วน้ำมันที่เครื่องยนต์ เพื่อเบิร์นน้ำมัน
     3.ให้และรอจนกว่าเครื่องยนต์จะดับไปเอง จะเป็นการถนอมอายุการใช้งานของสายน้ำมัน ง่ายต่อการสตาร์ทเครื่องยนต์ และเศษสกปรกในน้ำมันจะไม่ตกค้างในคาร์บูเรเตอร์ 
 
 

ท่านสามารถชมคลิปรีวิวสาธิตการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ ได้ตามลิงค์ดังนี้ครับ 

รีวิวสาธิตการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 6 หุล ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP160 5.5 แรงม้า

รีวิวสาธิตการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP200 6.5 แรงม้า

รีวิวสาธิตการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GX200 6.5 แรงม้า

วิธีล้างทำความสะอาดวาล์วปั้มพ่นยา 3 สูบ

 

ขอบคุณมากครับ ที่ติดตามอ่านหวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการใช้งานไม่มากก็น้อยครับ
เอกสารข้างต้นนี้ ขอสงวนสิทธ์ห้ามไม่ให้มีการ คัดลอ กระทำซ้ำ
หรือ ลอกเลียนแบบ ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด โดยไม่ได้รับอนุญาติ
 

 

 







dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
รีวิวสาธิตการติดตั้งชุดคันเร่งรอบเครื่องยนต์ รถตัดหญ้าสนาม HONDA GXV160
สาธิตวิธีการเปลี่ยนล้อรถตัดหญ้า 4 ล้อสนาม HONDA GXV160 รุ่นมีถุงเก็บหญ้า
dot
dot
วิธีประกอบชุดคอรถตัดหญ้า รุ่น มินิ 2 IN 1
dot
dot
สาธิตวิธีการประกอบคาร์บูเรเตอร์ลูกใหม่เข้ากับเครื่องยนต์ HONDA GP160
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
วิธีการเลือกซื้อใบสกรูลำเลียง
dot
dot
การเลือกซื้อเครื่องตัดหญ้า รถตัดหญ้าให้เหมาะกับการใช้งาน
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
www.thailandmower.com
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
สวนมะนาวคุณวน


ตรวจสอบสถานะ EMS และ ไปรษณีย์ลงทะเบียน


Copyright © www.thailandmower.com 2010 All Rights Reserved.

 LSH  METALWORK  CO., LTD.
Copyright © 2008 All Right Reserved.
31/13-14 M4 Soi Bangkadee 35 Rama 2 Road Saemaedam Bangkhuntien Bangkok 10150 Thailand.
 Tel : 02-452-1515 Fax : 02-896-2559  Email : tanached@hotmail.com 
 

 หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ถามมาตอบไป

วิธีสั่งซื้อสินค้า | วิธีชำระเงิน | ติดต่อเราและแผนที่