ReadyPlanet.com
dot dot
รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ

สามารถรับชมรีวิวการใช้งาน และการดูแลรักษาปั้มพ่นยาชนิด 3 สูบได้จากลิงค์ด้านล่างนี้

1.วิธีการประกอบ + ติดตั้ง การใช้งานเครื่องพ่นยา 3 สูบ
2.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว 
      ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GX200 6.5 แรงม้า

3.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 1 นิ้ว 
      ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP200 6.5 แรงม้า ( รุ่นใหม่ )

4.รีวิวสาธิตการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ ขนาด 6 หุล 
      ติดตั้งเครื่องยนต์ HONDA GP160 5.5 แรงม้า ( รุ่นใหม่ )

5.รีวิววิธีการล้างทำความสะอาดวาล์วปั้มพ่นยา 3 สูบ
6.รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ
7.รีวิวแก้ปัญหาน้ำยารั่วตรงลูกสูบของปั้มพ่นยา 3 สูบ
8.รีวิวการติดตั้งฟรียอยทองเหลือง เข้ากับโลม้วนเก็บสายยางพ่นยา
9.รีวิวการตรวจสอบอาการ ชุดก้านสูบขาด ของปั้มพ่นยา 3 สูบ

รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ

รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา3สูบ   

     ทำไม...เราต้องไล่อากาศก่อนการใช้งาน ปั้ม 3 สูบทุกครั้ง อันนี้ ลูกค้าบางท่านอาจจะงง ว่าทำไปทำไม หรือ หลายท่านที่เคยใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบอาจจะเคยประสบปัญหาว่า ทำไมปั้มพ่นยา ของเราไม่มีแรงดันตอนเปิดเครื่อง หรือ แรงดันตกลงเรื่อย ๆ เป็นต้น แต่หากเป็นลูกค้าของทางโรงงานทางฝ่ายช่างของเราจะแนะนำวิธีการให้อยู่แล้วครับ เลยวิธีนี้เป็นประโยชน์เลยอยากจะแนะนำต่อให้กับท่านเกษตรกรทั่วไป ที่ไม่ใช่ลูกค้าเราก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ได้ครับ จะได้ไม่ต้องไปเสียเงินซ่อมให้เปลืองครับ

รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา3สูบ รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา3สูบ    

เรามาทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ หลักการทำงานของปั้มพ่นยา 3 สูบ คือ

     ปั้มพ่นยา ชนิด  3 สูบนี้ จะดูดน้ำขึ้นมา ผ่านทางสายน้ำดูด ( ทางน้ำเข้า ) ซึ่งมีขนาด ต่างกัน เช่น ขนาด 6 หุล หรือ ขนาด 1 นิ้ว หรือใหญ่กว่านั้น ซึ่งหลังจากที่ดูดน้ำขึ้นมาแล้ว จะถูกสร้างแรงดัน ( Pressure ) ด้วยลูกสูบทั้ง 3 โดย ผ่านตัววาล์ว ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวดักน้ำกัน ป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับไปลงในถัง โดยวาล์วจะมีทั้งหมด 6 ตัว หลังจากสร้างแรงดัน แล้วจะส่งผ่านไปยังชุดควบคุมแรงดัน ที่อยู่ทางด้านบน เพื่อนำออกไปใช้งาน ( จริงๆ อาจจะมีขั้นตอนที่ เยอะกว่านี้นะครับ แต่ผมพยายามที่จะเล่าให้มองเห็นภาพ และเข้าใจง่าย ๆ ครับ หากภาษาที่ใช้ บ้าน ๆ เกินไปต้องขออภัยด้วยนะครับ )

 รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ

ส่วนประกอบหลัก ๆ ของปั้มพ่นยา 3 สูบมีดั้งนี้ครับ ( ตามรูปภาพด้านบน )

1. ท่อน้ำดูด 

2. สายน้ำเดรนทิ้ง

3. วาล์วไล่อากาศ ( อยู่ติดกับเกจวัดแรงดัน )

4. วาล์วเปิดแรงดันไปใช้งาน ตัวที่ 1 ( เข้าด้ามพ่นยา ) ซึ่งปั้มพ่นยาส่วนมากจะใช้งานได้ 2 หัวพ่น

5. วาล์วเปิดแรงดันไปใช้งาน ตัวที่ 2 ( เข้าด้ามพ่นยา )

6. มู่เลย์อลูมิเนียม ขนาด 8 นิ้ว 2 ร่อง A

รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา3สูบ รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา3สูบ รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา3สูบ


     ส่วนอากาศนั้น จะเกิดจากการที่เราใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบ ซึ่งหลังจากที่เราเลิกใช้งานแล้ว ซึ่งธรรมชาติของน้ำจะไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่แล้ว คือ น้ำจะไหลย้อนกลับมาทางด้านสายดูด ผ่านทางชุดฝักบัวกรองเศษ ซึ่งภายในฝักบัวกรองเศษจะไม่มีวาล์วใด ๆ ดักน้ำไว้ ทำให้น้ำไหลออกจากท่อ บางครั้งหมด หรือเกือบหมด ซึ่งหลังจากที่น้ำไหลออกจากสาย จะเกิดพื้นที่ว่าง ที่ถูกแทนที่ด้วยอากาศในสายยาง ส่วนในตัวปั้มพ่นยาจะมีน้ำค้างอยู่ในเสื้อเต็มอยู่แล้วเนื่องจากมีวาล์วกันน้ำไหลย้อนกลับดักไว้ เจ้าอากาศที่ค้างอยู่ในท่อนี้ จะส่งผลตอนใช้งานครั้งต่อไป คือ ขณะที่เราเริ่มการทำงานของปั้มพ่นยาครั้งใหม่ หากไม่ได้ไล่อากาศ พวก อากาศที่ค้างอยู่ในท่อ จะถูกดูดโดยลูกสูบเข้าไปยังตัวปั้ม ( ซึ่งปกติสิ่งที่มันควรจะดูดควรจะต้องเป็นน้ำ ) ทำให้น้ำในตัวปั้มซึ่งจากเดิมที่เคยเต็มกลับ เหลือปริมาณน้อยลง เพราะมีอากาศเข้ามาผสมด้วย ลูกสูบก็จะดึงอากาศส่งผ่านชุดเกจแรงดัน เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด ส่งผลทำให้แรงดันตกลงได้  ดังนั้นเราจึงควรทำการไล่อากาศก่อนการใช้งานทุกครั้ง ซึ่งทางโรงงานผู้ผลิตเค้าเห็นถึงปัญหา เค้าจึงออกแบบ ชุดวาล์วไล่อากาศ โดยวางตำแหน่งอยู่ตรง ชุดสร้างแรงดันด้านบน ( เป็นวาล์ว อยู่ตรงบริเวณ เกจวัดแรงดัน ) ให้เราได้ไล่อากาศออกจากตัวปั้มก่อน  

รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา3สูบ  รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ 

   

วิธีการไล่อากาศก่อนการใช้งาน ( ง่ายนิดเดียวครับ ) 

 รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ

     ก่อนการใช้งานปั้มพ่นยา 3 สูบทุกครั้ง ควรปรับตัวปรับแรงดัน ให้อยู่ในตำแหน่งต่ำที่สุดเสมอ เนื่องจากเราไม่อาจทราบได้ว่าแรงดันที่ปรับอยู่เก่านั้นเกินจากแรงดันที่มาตราฐานที่ตัวชุดแรงดันรับได้หรือไม่ หากเราใช้งานโดยที่ไม่ทราบ อาจจะทำให้ชุดแรงดันเสียหายได้ และวิธีนี้ยังช่วย ลดภาระการทำงานของต้นกำลังในช่วงของการสตาร์ทเครื่อง เช่น เครื่องยนต์ หรือ มอเตอร์ได้  หากเป็นเครื่องยนต์ เราปรับเร่งแรงดันไว้เยอะมาก จะส่งผลทำให้สตาร์ทเครื่องยนต์ติดยาก ส่วนถ้าเป็นมอเตอร์ ถ้าปรับแร่งแรงดันไว้เยอะมาก จะทำให้มอเตอร์ โอเวอร์โหลด ( OVER LOAD ) เพราะต้องใช้กำลังมากขึ้นตอนสตาร์ท ส่งผลให้มอเตอร์อาจจะไหม้ได้ครับ

 รีวิวการไล่อากาศก่อนการใช้งาน ปั้มพ่นยา 3 สูบ
     หลังจากที่เราปรับแรงดันมาที่ต่ำสุดแล้ว ให้ทำการปิดวาล์วทั้งหมดที่ส่งน้ำไปยัง ด้ามพ่นยา และเปิดวาล์ว แรงดันที่ตำแหน่งเกจวัด และทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ หรือ เปิดการทำงานขอมอเตอร์ ( อย่าลืมเอาชุดสายดูดใส่ลงไปในถังที่มีน้ำนะครับ ) ปั้มพ่นยาจะเริ่มทำงาน สังเกตได้จากมีน้ำพุ่งออกมาทางวาล์วที่ตำแหน่งเกจวัดแรงดันครับ ให้เปิดเครื่องไว้และรอให้เครื่องไล่อากาศออกจากตั้วปั้มสัก 1-2 นาที ครับ หลังจากนั้น จึงปิดวาล์วแรงดัน และเปิดการวาล์วทางด้านที่ส่งน้ำไปใช้งาน ( ออกด้ามพ่นยา ) จากนั้นจึงค่อยปรับแรงดันที่ต้องการใช้งาน เป็นอันเสร็จขึ้นตอนการไล่อากาศ และสามารถใช้งานได้ตามปกติครับ

 

 







dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
รีวิวสาธิตการติดตั้งชุดคันเร่งรอบเครื่องยนต์ รถตัดหญ้าสนาม HONDA GXV160
สาธิตวิธีการเปลี่ยนล้อรถตัดหญ้า 4 ล้อสนาม HONDA GXV160 รุ่นมีถุงเก็บหญ้า
dot
dot
วิธีประกอบชุดคอรถตัดหญ้า รุ่น มินิ 2 IN 1
dot
dot
สาธิตวิธีการประกอบคาร์บูเรเตอร์ลูกใหม่เข้ากับเครื่องยนต์ HONDA GP160
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
วิธีการเลือกซื้อใบสกรูลำเลียง
dot
dot
การเลือกซื้อเครื่องตัดหญ้า รถตัดหญ้าให้เหมาะกับการใช้งาน
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
www.thailandmower.com
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
สวนมะนาวคุณวน


ตรวจสอบสถานะ EMS และ ไปรษณีย์ลงทะเบียน


Copyright © www.thailandmower.com 2010 All Rights Reserved.

 LSH  METALWORK  CO., LTD.
Copyright © 2008 All Right Reserved.
31/13-14 M4 Soi Bangkadee 35 Rama 2 Road Saemaedam Bangkhuntien Bangkok 10150 Thailand.
 Tel : 02-452-1515 Fax : 02-896-2559  Email : tanached@hotmail.com 
 

 หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ถามมาตอบไป

วิธีสั่งซื้อสินค้า | วิธีชำระเงิน | ติดต่อเราและแผนที่